Jump to content
กระดานทองคำ
Sign in to follow this  
admin

10 ชาติตุนทองคำมากสุดในโลก

Recommended Posts

news_img_470599_1.jpg

 

เผยโฉม 10 ประเทศที่ถือครองทองคำมากสุดในโลก ท่ามกลางราคาที่ปรับตัวขึ้น หลังสหรัฐประกาศนโยบายคิวอี 3 แบบไร้ขีดจำกัด

 

ราคาทองคำได้แรงผลักจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนมองหา ท่ามกลางความวิตกว่าอาจก่อภาวะเงินเฟ้อ และทำให้มูลค่าของเงินลดลง นอกจากนี้ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศยังสะสมทองคำในคลังเพิ่มขึ้นด้วย

 

จากข้อมูลของสภาทองคำโลก ประจำเดือนกันยายน ระบุว่า ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ซื้อทองคำมากถึง 157.5 ตัน ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้น 63% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้น 137.9% เมื่อเทียบจากปีก่อน

 

เมื่อพิจารณาข้อมูลการถือครองทองคำจากที่แต่ละประเทศรายงานต่อสภาทองคำโลก และคำนวณสัดส่วนการถือครองทองคำที่อยู่ในทุนสำรองระหว่างประเทศ พบว่า

 

ประเทศที่ร่ำรวยทองคำในท้องพระคลังมากสุด คือ “สหรัฐ” โดยตัวเลขถือครองทองคำอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 8,133.5 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 75.4% ของทุนสำรอง สหรัฐเคยครอบครองทองคำมากสุดในโลกถึง 20,663 ตัน ในปี 2495 ก่อนลดระดับลงต่ำกว่าหลักหมื่นตันตั้งแต่ปี 2511

 

รองแชมป์ที่ถือครองทองคำมากสุด คือ “เยอรมนี” สะสมทองคำไว้ 3,395.5 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 72.3% ในทุนสำรองระหว่างประเทศ ก่อนหน้านี้ เยอรมนีเคยขายทองคำภายใต้ข้อตกลงระหว่างธนาคารกลาง (ซีบีจีเอ) ฉบับที่ 1 และ 2 โดยข้อตกลงแต่ละฉบับมีอายุ 5 ปี ขณะที่ข้อตกลงฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นฉบับที่ 3 (27 กันยายน 2552-26 กันยายน 2557) กำหนดข้อตกลงในการขายทองคำไม่เกิน 400 ตันต่อปี หรือไม่เกิน 2,000 ตัน ตลอดเวลา 5 ปี แต่ธนาคารกลางเยอรมนี หรือที่เรียกว่า บุนเดสแบงก์ ขายทองคำออกมา 6 ตัน ในปี 2552 และขายไปราว 4.7 ตัน นับจากวันที่ 7 กันยายน 2554

 

อันดับ 3 “อิตาลี” แดนมะกะโรนีถือครองทองคำอย่างเป็นทางการ 2,451.8 ตัน หรือมีทองคำคิดเป็น 71.2%ในทุนสำรองระหว่างประเทศ ก่อนหน้านี้ แบงก์ชาติอิตาลีไม่ได้ประกาศขายทองคำภายใต้ข้อตกลงซีบีจีเอ ฉบับ 1 และ 2 รวมถึงไม่มีแผนขายทองคำในข้อตกลงฉบับปัจจุบัน ขณะที่เมื่อปีที่แล้ว ธนาคารในอิตาลีต่างเชียร์ให้ธนาคารกลางอิตาลีซื้อทองคำ และหนุนบัญชีงบดุลของธนาคารต่างๆ ก่อนการทดสอบภาวะวิกฤติ (stress test)

 

อันดับ 4 “ฝรั่งเศส” สะสมทองคำไว้ราว 2,435.4 ตัน มีสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศ 71.7% แดนน้ำหอมเคยขายทองคำ 572 ตัน ภายใต้ข้อตกลงซีบีจีเอ ฉบับ 2 อีกทั้งใช้ทองคำ 17 ตัน เพื่อซื้อหุ้นในธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ในปลายปี 2547 แต่ไม่มีแผนจะขายทองคำภายใต้ข้อตกลงฉบับล่าสุด

 

อันดับ 5 “จีน” ถือครองทองคำประมาณ 1,054.1 ตัน ขณะที่สัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 1.7% ซึ่งยังค่อนข้างน้อยมาก เมื่อเทียบจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่จีนมีสูงถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ การสะสมทองคำเพิ่มเติมในทุนสำรองถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับจีนที่จะผลักดันค่าเงินหยวนสู่สากล

 

อันดับ 6 “สวิตเซอร์แลนด์” ตุนทองคำไว้ 1,040.1 ตัน มีสัดส่วนทุนสำรองที่อยู่ในรูปทองคำคิดเป็น 12.1% ก่อนหน้านี้ ทางการสวิสประกาศขายทองคำ 1,300 ตัน ที่ประเมินว่าเกินกว่าความจำเป็นในการดำเนินนโยบายการเงิน โดยทยอยขาย 1,170 ตัน ภายใต้ข้อตกลงซีบีจีเอฉบับแรก และขายอีก 130 ตัน ภายใต้ข้อตกลงฉบับที่ 2 แต่ยังไม่มีแผนขายทองคำในข้อตกลงฉบับปัจจุบัน

 

อันดับ 7 ได้แก่ “รัสเซีย” ที่มีทองคำ 936.6 ตันในคลังหลวง หรือคิดเป็น 9.6% ในทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด โดยรัสเซียเริ่มสะสมทองคำตั้งแต่ปี 2549 เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับในตะกร้าทุนสำรอง

 

อันดับ 8 “ญี่ปุ่น” ถือครองทองคำอยู่ราว 765.2 ตัน คิดเป็นสัดส่วนในทุนสำรอง 3.1% ทางการญี่ปุ่นมีทองคำในมือแค่ราว 6 ตัน ในยุค 1950 ธนาคารกลางญี่ปุ่นเริ่มจริงจังกับการตุนทองเมื่อปี 2502 อยู่ที่ 169 ตัน แต่ในปีที่แล้ว แบงก์ชาติญี่ปุ่นต้องขายทองคำออกมา เพื่อปั๊มเงิน 20 ล้านล้านเยน สู่ระบบเศรษฐกิจ หลังเกิดเหตุสึนามิพัดถล่มและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 

อันดับ 9 “เนเธอร์แลนด์” สะสมทองคำไว้ 612.5 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 60.7% ของทุนสำรอง เนเธอร์แลนด์ขายทองคำ 235 ตัน ภายใต้ข้อตกลงซีบีจีเอฉบับแรก และ 165 ตัน ในฉบับที่ 2 แต่ไม่มีแผนขายทองคำในข้อตกลงฉบับปัจจุบัน

 

อันดับ 10 “อินเดีย” ถือครองทองคำ 557.7 ตัน คิดเป็น 9.9% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นที่ทราบกันดีว่า ธนาคารกลางอินเดียให้ความสำคัญกับทองคำในฐานะการลงทุนที่ปลอดภัย อีกทั้งเป็นผู้ซื้อทองคำรายสำคัญจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แต่รัฐบาลมักไม่เปิดเผยแผนการซื้อทองคำต่อสาธารณะ

 

 

ส่วน “ไทย” สะสมทองคำมากเป็นอันดับ 25 มีอยู่ 152.4 ตัน หรือคิดเป็น 4.5% ของทุนสำรองระหว่างประเทศ

 

 

 

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com

Share this post


Link to post
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
Sign in to follow this  

×
×
  • Create New...